รัสเซีย

ความสัมพันธ์อาเซียนอาเซียน-รัสเซีย ( ASEAN –Russia) ความสัมพันธ์อาเซียน-รัสเซีย เริ่มต้นจากการที่รัสเซียได้สถาปนาความสัมพันธ์ในฐานะคู่หารือ (Consultative relations) กับอาเซียนในปี 2534 และพัฒนาความสัมพันธ์จนได้รับสถานะ ประเทศคู่เจรจา (Dialogue Partner) กับอาเซียนในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน สมัยที่ 29 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2539 ที่กรุงจาการ์ตาโดยมีประเทศอินโดนีเซีย พม่า เป็นประเทศผู้ประสานงานความ สัมพันธ์ฯ ระหว่างปี 2552 – 2555สำหรับกลไกของความสัมพันธ์จะประกอบด้วย (1) ASEANRussiaSummit (ระดับผู้นำ) จัดขึ้น 1 ครั้ง เมื่อปี 2548 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และครั้งที่ 2 ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 17 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2553 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม (2) ASEAN PMC + 1 (ระดับรัฐมนตรี)ประชุมปีละครั้ง (3) ASEAN-Russia SOM (ระดับปลัด) ประชุมทุก18 เดือน ตั้ง Open-Ended WG endorsed by PMC+1 (4)ASEAN-Russia Joint Cooperation Committee (CPR) ประชุมปีละครั้ง (5) ASEAN-Russia Joint Planning and Management Committee (CPR) ประชุมปีละครั้ง ความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ ระหว่างอาเซียนกับรัสเซีย ดังนี้ – ความร่วมมือด้านการเมืองความมั่นคง อาเซียนและรัสเซียได้ลงนามในเอกสารสำคัญหลายฉบับ ได้แก่ ปฏิญญาร่วมอาเซียน-รัสเซียว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนเพื่อสันติภาพ ความมั่นคง ความมั่งคั่งและการพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ปี 2546 แถลงการณ์ร่วมอาเซียน-รัสเซียว่าด้วยความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้าย ปี 2547และรัสเซียได้ภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในปี 2547 – ความร่วมมือด้านการพัฒนา ในปี 2548 ผู้นำอาเซียนและรัสเซียได้ลงนามใน Joint Declaration of the Heads of State/Government of the Member Countries of ASEAN and the Head of State of the Russian Federation on Progressive and Comprehensive Partnership และได้รับรอง Comprehensive Programme of Action to Promote Cooperation between ASEAN and the Russian Federation ปี 2548-2558 ซึ่งอาเซียนและรัสเซียได้จัดตั้งกองทุน ASEAN-Russia Dialogue Partnership Financial Fund (DPFF) ขึ้นเพื่อการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือต่างๆโดยรัสเซียเป็นผู้มอบเงินเข้ากองทุนฝ่ายเดียว ขณะนี้กองทุนมีเงินประมาณ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ รัฐมนตรีต่างประเทศของอาเซียนและรัสเซียได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ปี 2548 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในปี 2552 มูลค่าการค้าระหว่างอาเซียน-รัสเซีย ประมาณ 8,530ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าสำคัญที่รัสเซียส่งออกมาอาเซียน ได้แก่ชิ้นส่วนประกอบโลหะ เคมีภัณฑ์ และสินค้าประกอบจากสินแร่ ในขณะที่อาเซียนส่งออกสินค้าประเภทเครื่องจักร เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์อาหารสำเร็จรูป น้ำมันประกอบอาหารไปรัสเซีย รัสเซียถือเป็นตลาดใหญ่ที่มีศักยภาพสำหรับการขยายตลาดของอาเซียนและจะเป็นประตูกระจายสินค้าอาเซียนไปยังกลุ่มประเทศ CIS ได้ในอนาคต- การจัดตั้ง ASEAN Centre เลขาธิการอาเซียน ผู้แทนประเทศ สมาชิกอาเซียนร่วมกับอธิการบดี Moscow State Institute of International Relations (MGIMO) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อจัดตั้งศูนย์อาเซียนในกรุงมอสโก เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2552และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการที่ MGIMO กรุงมอสโก เมื่อวันที่15 มิถุนายน 2553

อ้างอิง http://www.pyp.ac.th/asean/relationship/russia.php

ใส่ความเห็น